วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

แพรี่ด็อก กับ หญ้า


แพรี่ด็อกกับหญ้า

แพรี่ด็อกเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร ซึ่งหมายความว่า แพรี่ด็อก กินเฉพาะส่วนที่ประกอบจากพืช การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปนั้นเป็นเรื่องที่ปกติมากสำหรับแพรี่ด็อกที่ถูกนำมาเลี้ยง และขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ หรืออาหารที่ไม่เหมาะสมก็สามารถมีส่วนคุกคามชีวิตของแพรี่ด็อกให้มีความเจ็บป่วย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการที่ผู้เลี้ยงให้อาหารแพรี่ด็อกอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะไม่ทำให้แพรี่ด็อกอ้วน หรือมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง

หญ้าแห้ง กับแพรี่

หญ้าแห้งเป็นอาหารของแพรี่ด็อกอย่างน้อย 75 เปอร์เซ็นต์
ควรเลือกหญ้าแห้งที่มีคุณภาพสูง 
ผู้เลี้ยงสามารถให้ได้โดยไม่จำกัดปริมาณ หญ้าแห้งที่สามารถให้ได้คือ หญ้าทิโมธี หญ้าขนแห้ง หญ้าออเคิร์ด และหญ้าโอ๊ต

หญ้าแห้ง ควรจะมีติดกรงเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อที่แพรี่ด็อกจะได้สามารถกินได้ทุกเวลาที่ต้องการ เพื่อความสดใหม่ของหญ้าแห้ง ให้รอจนกระทั้งแพรี่ด็อกกินใกล้จะหมด แล้วจึงค่อยเติมส่วนของหญ้าแห้งใหม่ลงไป หญ้าแห้งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ไฟเบอร์ ซึ่งช่วยรักษาปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ และสุภาพของฟัน
การแทะหญ้าแห้งจะช่วยป้องกันความเบื่อหน่าย ความอ้วน และโรคเกี่ยวกับฟันด้วย โดยการตอบสนองให้สัตว์ที่ชอบแทะมาแต่กำเนิด ด้วยการจัดหาประดับสิ่งแวดล้อม ผู้เลี้ยงสามารถเอาหญ้าแห้งสุมเอาไว้ในกรง และซ่อนขนม/ของรางวัล หรือเค้กหญ้าแห้งเอาไว้ข้างในกองหญ้า
เค้กหญ้าแห้งก้อนใหญ่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่สูง นั้นได้ผลดีเป็นพิเศษในการตอบสนองให้การแทะนั้นมีชีวิตชีวา เป็นการกระตุ้นให้แพรี่ด็อกติดพฤติกรรมในการเล่น และมีโภชนาการที่สมบูรณ์ ผู้เลี้ยงต้องมั่นใจก่อนว่า เค้กหญ้าแห้งที่ผู้เลี้ยงเลือกให้แพรี่ด็อกนั้นเสริมวิตามินและแร่ธาตุ ให้เค้กหญ้าแห้งแก่แพรี่ด็อก 3 – 4 ก้อนต่อวันในชามเซรามิกที่มีฐานมั่นคง โดยให้เพิ่มเข้าไปกับหญ้าแห้ง เอาอาหารที่เหลือออกจากกรง และล้างทำความสะอาดถ้วยทุกวัน



หญ้าขนสด/หญ้าสดอื่นๆ กับแพรี่

ผู้เลี้ยงสามารถให้หญ้าขนสดแก่แพรี่ด็อกได้เช่นเดียวกัน ก่อนให้หญ้าขนสดแก่แพรี่ด็อก ต้องล้างหญ้าขนสดให้สะอาดด้วยการเอาไปแช่น้ำประมาณ 5 นาที ล้างโดยการเอานิ้วลูบใบ รอให้สะเด็ดน้ำ และเอาให้แพรี่ด็อกกิน หญ้าสดชนิดอื่น หากเก็บมาให้แพรี่ด็อกกิน ผู้เลี้ยงควรจะมั่นใจว่าหญ้านั้นสะอาด และไม่มีสารเคมีตกค้าง ไม่ควรให้หญ้าขนสดแก่แพรี่ด็อกมากเกินไป เพราะสามารถส่งผลให้แพรี่ด็อกปฏิเสธการกินหญ้าแห้งได้





หญ้าอัลฟัลฟ่า กับแพรี่

หญ้าอัลฟัลฟ่า ผู้เลี้ยงไม่ควรนำไปให้แพรี่ด็อกกิน เนื่องจากหญ้าชนิดนี้มีอัตราส่วนของแคลเซียมฟอสฟอรัสสูง ซึ่งถ้าหากว่าผู้เลี้ยงนำไปให้แพรี่ด็อกกินเป็นระยะเวลานาน จะมีความโน้มเอียงให้แพรี่ด็อกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหารได้
แต่ในช่วงที่ตั้งท้อง ให้นมลูก หรือผสมพันธุ์ เป็นช่วงที่แพรี่ด็อกต้องการโปรตีนสูงสามารถให้หญ้าอัลฟัลฟ่าได้





วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

แพรี่ดอกซ์ กับสายพันธุ์ของแพรี่ และลักษณะของแพรี่แต่ละพันธุ์

แพรี่ด็อกมีกี่สายพันธุ์

แพรี่ด็อกมี 5 สายพันธุ์คือ

สายพันธุ์หางดำ Black-tailed (Cynomys Iudovicianus) พบได้ในที่ราบของทวีปอเมริกาเหนือ ประมาณตั้งแต่เขตชายแดนประเทศอเมริกา – ประเทศแคนาดา ไปจนถึงเขตชายแดนประเทศแม็กซิโก
สายพันธุ์กันนิสันส์ Gunnison’s (Cynomys Gunisoni) พบกระจายอยู่ตามสี่มุมในภูมิภาคของประเทศอเมริกา
สายพันธุ์เม็กซิกัน Mexcican (Cynomys Mexcicanus) พบได้ในเขตพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก

สายพันธุ์ยูทาห์ Utha (Cynomys parvidens) เป็นแพรี่ด็อกที่สายพันธุ์เล็กที่สุดพบได้ทางตอนใต้กลางทุ่งหญ้าของรัฐยูทาห์ประเทศอเมริกา

สายพันธุ์หางขาว White-tailed (Cynomys Ieucurus) พบได้ทางฝั่งตะวันตกของรัฐไวโอมิ่ง และทางฝั่งตะวันตกของรัฐโคโลราโด และพบเป็นบางพื้นที่ฝั่งตะวันออกของรัฐยูท่าห์และทางตอนใต้ของรัฐมอนทาน่า



ลักษณะทางกายภาพของแพรี่ด็อก


สายพันธุ์หางดำ Black-tailed (Cynomys Iudovicianus) โดยส่วนใหญ่แล้วสายพันธุ์นี้จะมีสีแทน และมีสีแทนอ่อนที่ช่วงท้อง ตรงปลายหางจะมีสีดำตามชื่อ น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยจะอยู่ที่ 1.5 – 3 ปอนด์ (0.68 – 1.4 กิโลกรัม) เพศผู้จะมีน้ำหนักมากกว่าเพศเมีย ขนาดของลำตัวโดยปกติแล้วจะยาว 14 – 17 นิ้ว (36 – 43 เซนติเมตร) และมีหางยาว 3 – 4 นิ้ว (7.6 – 10 เซนติเมตร)

สายพันธุ์กันนิสันส์ Gunnison’s (Cynomys Gunisoni) สายพันธุ์นี้จะมีขนโทนสีเหลือง รวมกับขนสีดำ ส่วนด้านบนของหัว ด้านข้างของแก้ม และคิ้ว มีสีดำอย่างเห็นได้ชัดเจนมากกว่าส่วนอื่นของร่างกาย ส่วนมากแล้วหางจะมีสีขาว กับส่วนปลายของขนมีสีค่อนข้างเทา – สีขาว และปลายหางมีสีเทาอ่อน น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยจะอยู่ที่ 1.5 – 2.5 ปอนด์ (0.5 – 1 กิโลกรัม) ขนาดลำตัวยาว 12 – 14 นิ้ว (30 – 37 เซนติเมตร) หางยาว 1.25 – 2.25 นิ้ว (3 – 6 เซนติเมตร) เพศผู้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าเพศเมีย

สายพันธุ์แม็กซิกัน Mexcican (Cynomys Mexcicanus) สายพันธุ์นี้จะมีสีขนค่อนข้างเหลือง หูมีสีเหลืองเข้ม และท้องสีเหลืองอ่อน น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 2.2 ปอนด์ (1 กิโลกรัม) ขนาดลำตัวยาว 14 – 17 นิ้ว (36 – 43 เซนติเมตร) เพศผู้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าเพศเมีย

สายพันธุ์ยูทาห์ Utha (Cynomys parvidens) สายพันธุ์นี้จะมีสีขนสีน้ำตาล และมีสีขาวตรงส่วนปลายหาง น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 1.5 – 3 ปอนด์ (0.68 – 1.4 กิโลกรัม) ขนาดลำตัวเมื่อยืนจะอยู่ที่ 9.8 – 15.7 นิ้ว (25 – 40 เซนติเมตร)

สายพันธุ์หางขาว White-tailed (Cynomys Ieucurus) สายพันธุ์นี้จะมีขนสีน้ำตาลแทน ดวงตาใหญ่ มีขนสีน้ำตาลดำแซมทั้งด้านบนและด้านล่างของดวงตาแต่ละข้าง มีผิวหนังสีน้ำตาลแทน และมีสีขาวตรงส่วนปลายของหาง น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 1 – 3 ปอนด์ (0.68 – 1.4 กิโลกรัม) ขนาดลำตัวเมื่อโตประมาณ 13 – 15 นิ้ว (33 – 38 เซนติเมตร)